กิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

1.ครูและผู้เรียนสนทนาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยในปัจจุบันนี้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัว จึง
ต้องศึกษาการใช้งานตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูงที่ใช้เฉพาะในการทำงานต่อไป ซึ่งจะช่วยทำ
ให้ผู้เรียนมีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจของตนเองได้มากขึ้น
2.ครูเน้นให้ผู้เรียนเห็นว่าคอมพิวเตอร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานใดด้านต่างๆ ในทุกสาขาอาชีพ จะ
เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์มีประโยชน์ต่อการทำงานและชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
3.ผู้เรียนยกตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ไม่ว่าจะเป็นงานเกี่ยวกับธุรกิจงานภายในสำนักงาน งาน
ทางวิทยาศาสตร์ งานการติดต่อสื่อสาร และงานในด้านทหาร งานด้านการศึกษา รวมไปถึงงานที่เกี่ยวข้องกับ
ความบันเทิง

ขั้นสอน
4.ครูผู้สอนอธิบายความหมายของคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ Power Point เป็นสื่อในการเรียนการสอน โดย
คอมพิวเตอร์ (COMPUTER) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อมาช่วยในการทำงานของมนุษย์ ความสามารถของคอมพิวเตอร์ คือสามารถคำนวณหรือประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ง่าย ไปถึงยากและสลับซับซ้อน การทำงานในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานเกี่ยวกับข้อความและตัวเลข การทำงานเกี่ยวกับภาพ ทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (VDO) การทำงานเกี่ยวกับเสียง และการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำงานโดยการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านอุปกรณ์นำเข้าต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด ไมโครโฟน และอื่นๆ เข้ามาประมวลผล และแสดงผลออกสู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้ต่อไป
5.ครูอธิบายองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์ คือ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาประกอบกันแล้วจะได้คอมพิวเตอร์ชนิดตั้งโต๊ะที่สมบูรณ์ เครื่องประกอบด้วยองค์ประกอบอย่างน้อยดังนี้ 1.กล่องซีพียู 2.แป้นพิมพ์ 3.เมาส์ 4.จอภาพ 5. ลำโพง ซึ่งในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบต่างๆ เพื่อที่จะทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปตามความต้องการของงานที่หลากหลาย ประกอบด้วย ส่วน ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) บุคลากร(User)
และข้อมูล (Data)
6.ครูอธิบายฮาร์ดแวร์ โดยฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึงอุปกรณ์ทางกายภาพของคอมพิวเตอร์
หมายถึงอุปกรณ์ทุกอย่างที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ที่จับต้องได้ ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆ
7.ผู้เรียนบอกส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์มี ส่วน คือ หน่วยรับข้อมูล (Input unit), หน่วยประมวลผลข้อมูล (Processing unit), หน่วยความจำ (Memory unit) และ หน่วยแสดงผล (Output unit)
8.ครูอธิบายซอฟต์แวร์ โดยซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดของคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานซอฟต์แวร์จึงเปรียบเสมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น
  • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
  • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
  • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (PackageSoftware) 
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หมายถึงชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูปซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับ
คอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการ
งาน ซอฟต์แวร์ระบบนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้
1) ซอฟต์แวร์ควบคุมระบบปฏิบัติการ (Operating System -OS)
2) ซอฟต์แวร์จัดการอุปกรณ์ต่อพ่วง (Device Driver Software)
3) ซอฟต์แวร์การสื่อสาร (Communications Software)
4) ซอฟต์แวร์ช่วยพัฒนาโปรแกรม (Program Development Software)
5) ซอฟต์แวร์อำนวยความสะดวก (Utility Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะสำหรับงาน
เฉพาะอย่างที่ต้องการ เช่น งานส่วนตัวงานทางด้านธุรกิจหรืองานทางด้านวิทยาศาสตร์บางครั้งอาจเรียกโปรแกรม
ประเภทนี้ว่า User's Program ซอฟต์แวร์ประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนาเช่น ภาษาซี โค
บอล ปาสคาลเบสิก วิชวลเบสิก เป็นต้น เช่น โปรแกรมการทำบัญชีของบริษัทโปรแกรมการทำสินค้าคงคลังเฉพาะ
 โปรแกรมรับออเดอร์ในร้านอาหารและอื่นๆซึ่งแต่ละโปรแกรมก็อาจมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกันไปตาม
ความต้องการหรือกฎเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในบาง
ส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (PackageSoftware) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหา
ซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะสำหรับงานใดงานหนึ่งผู้ใช้งานจะต้องเป็นผู้นำ
ไปประยุกต์กับงานของตนด้วยตนเอง เช่น ครูนำมาใช้ในการผลิตสื่อการสอน นักศึกษานำมาใช้ในการทำรายงาน 
เป็นต้นหรือผู้ใช้อาจต้องมีการสร้างหรือพัฒนาชิ้นงานภายในซอฟต์แวร์ต่อไปอีกราคาของซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปนี้จะไม่
สูง ซอฟต์แวร์
ใช้งานทั่วไปซึ่งนิยมนี้เรียกว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูป สามารถแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน เช่น
  • ด้านประมวลผลคำ
  • ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลหรือตารางทำงาน
  • ด้านการเก็บและเลือกค้นข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล
  • ด้านกราฟิก และนำเสนอข้อมูล
  • ด้านการติดต่อสื่อสารทางไกล
  • ด้านการพิมพ์
  • ด้านการลงทุนและการเงิน
  • ด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรม
กลุ่มซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานมากและจำเป็นต้องมีประจำสำหรับคอมพิวเตอร์แทบทุกเครื่อง คือซอฟต์แวร์ด้านการ
ประมวลผลคำด้านตารางทำงานด้านระบบฐานข้อมูล และด้านกราฟิก
7.บุคลากรทางคอมพิวเตอร์และข้อมูลต่างๆ โดยบุคลากรคอมพิวเตอร์ (User)หมายถึงบุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบ
งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในทุกๆ ด้านนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะจะเป็นผู้จัดการหรือผู้ดำเนินงานให้
ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินต่อไปได้ถึงแม้จะมีฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลพร้อมแล้วแต่ไม่มีบุคลากรดำเนินงานต่อ 
คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานเองได้
8.ผู้เรียนยกตัวอย่างบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่
1) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

2) โปรแกรมเมอร์ (Programmer)

3) วิศวกรระบบ (System Engineer)

4) ผู้บริหารระบบงาน (Administrator)

5) พนักงานปฏิบัติการ (Operator)

6) ผู้ใช้ (End-User)
9.ครูอธิบายข้อมูล (Data) ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือข้อสนเทศที่
ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลระบบคอมพิวเตอร์

ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์สิ่งของ สถานที่ ฯลฯ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แล้วสามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและตลอดเวลาเพื่อที่จะให้ได้

ข้อมูลอย่างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์บางอย่างผันแปรขึ้นการเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

กรรมวิธีการรวบรวมข้อมูล เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะได้ข้อมูลรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ

 ครบถ้วนดังนั้นผู้ดำเนินการจะต้องให้ความสำคัญที่จุดนี้โดยเฉพาะความรวดเร็วความรวดเร็วและแม่นยำของการเก็บ

ข้อมูลจึงมีความสำคัญมาก

ชนิดของข้อมูลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถเก็บบันทึกได้นั้นอาจจำแนกได้หลายรูปแบบได้แก่

1) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระหรือข้อความ (character data หรือ text) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระหรือข้อความ หรือ เป็น

ข้อมูลที่อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์ โดยข้อมูลที่เป็นอักษรจะไม่สามารถนำไปคำนวณได้แต่สามารถนำ

ไปจัดเรียงตามลำดับตัวอักขระ เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้และเปรียบเทียบได้ว่าเหมือนกับข้อมูลอื่นหรือไม่

2) ข้อมูลเชิงจำนวน (numerical data) มีลักษณะเป็นตัวเลขซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถนำไปคำนวณได้ เช่นอุณหภูมิ

 ความเร็ว คะแนน และยอดขาย เป็นต้น โดยข้อมูลที่เป็นตัวเลขอาจจำแนกได้ รูปแบบ คือ ข้อมูลที่เป็น

เลขจำนวนเต็ม (Integer Number) เช่น 2, 8 และ -5 เป็นต้น และข้อมูลที่เป็นเลขทศนิยม เช่น 10.5, 

225.75 และ -0.001 เป็นต้น

3) ข้อมูลรหัส (code data) อาจเป็นตัวอักขระหรือข้อมูลเชิงจำนวนก็ได้ ซึ่งมักจะมีการกำหนดขนาดความยาวไว้จำกัด
เช่นรหัสที่ใช้ระบุเพศอาจเป็นตัวเลขหนึ่งตัวหรือตัวอักขระหนึ่งตัว ได้แก่ แทนด้วยเพศชาย และ แทนด้วยเพศหญิง

 หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้นซึ่งข้อมูลรหัสนั้นไม่ได้นำไปใช้เพื่อการคำนวณ แต่ใช้เพื่อการเปรียบเทียบนับ

หรือจัดกลุ่มข้อมูลที่มีรหัสตรงกับที่กำหนด

4) ข้อมูลวันที่ (date data) เป็นข้อมูลซึ่งกำหนดขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถแสดง วัน เดือน ปีที่กำหนดไว้เป็น

มาตรฐานได้ ซึ่งข้อมูลวันที่จะมีประโยชน์มากในการคำนวณอายุหรือหาช่วงเวลาระหว่างวันที่หนึ่งไปยังอีกวันที่หนึ่ง
5) ข้อมูลภาพ (image data) เป็นข้อมูลภาพเช่น ภาพถ่าย หรือภาพที่จัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลที่แสดงความเข้มและสีของรูปภาพหรือเอกสารที่เป็นผลจากการใช้เครื่องสแกนเนอร์บันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์โดยข้อมูลภาพจะมีลักษณะเป็นจุดภาพ สามารถนำมาแสดงทางจอภาพ ย่อ ขยายหรือตัดต่อได้ และมักเก็บไว้ใช้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้น
6) ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (moving data) เป็นภาพที่เกิดจากการนำภาพนิ่งหลายๆภาพแสดงต่อเนื่องกันโดยเร็ว ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว
7) ข้อมูลเสียง (voice data) เป็นข้อมูลที่นิยมนำมาใช้ในงานประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกเสียงที่ได้รับออกว่ามีความหมายอะไรเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานตามที่มนุษย์บอกหรือออกเสียง
10.ครูและผู้เรียนช่วยกันอธิบายหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยลักการทำงานของระบบ
คอมพิวเตอร์ โดยแสดงรูปภาพเพื่อสื่อความหมายให้ผู้เรียนเข้าใจยิ่งขึ้น
ขณะที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้ถูกเปิด คอมพิวเตอร์ก็เปรียบเสมือนกล่องๆ หนึ่งที่ประกอบด้วยพลาสติก โลหะ สายไฟและ

วงจรต่างๆ ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างสลับซับซ้อน แต่เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกเปิดขึ้น จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลและจะ

ไปกระตุ้นให้วงจรต่างๆ ทำงาน และจะทำให้กล่องธรรมดาๆ นั้นสามารถทำประโยชน์ได้อย่างมากมาย ก่อนที่กระแส

ไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่คอมพิวเตอร์จะยังไม่มีสิ่งใดๆ ทำงาน เมื่อมีการเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เริ่มแรกคอมพิวเตอร์จะตรวจ

สอบตัวเองก่อนว่ามีอุปกรณ์อะไรบ้างที่มีอยู่ในตัวมันและยังใช้งานได้หรือไม่ เมื่อคอมพิวเตอร์ตรวจสอบอุปกรณ์

ต่างๆ ในตัวมันแล้วไม่

มีปัญหา ก็จะเริ่มทำการบูท (Boot) ระบบ ซึ่งต้องอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ ทำหน้าที่เสมือนผู้ดูแลการ

ทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ให้ทำงานตามคำสั่ง

￿ การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสังเกตเห็นว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่มี

อะไรเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวินาที แต่จริงๆ แล้วคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่กำลังทำงานอยู่ ซึ่งงาน

นั้นเป็นงานที่ซับซ้อน ต้องมีการจัดการสิ่งต่างๆ มากมาย เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานอย่างถูกต้อง และตรวจ

สอบว่ามีอุปกรณ์อะไรต่ออยู่กับตัวมันเองบ้าง และถ้ามีบางอย่างผิดพลาดคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงข้อความเตือนขึ้นมา
การทำงานดังกล่าวนี้เป็นการเริ่มต้นของการทำงานที่ซับซ้อน กระบวนการนี้เรียกว่า การบูทอัพ (Boot-up) หรือ

 การบูท (boot) ขั้นตอนการบูทเป็นการดึงระบบปฏิบัติการที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องมาทำงาน ระบบปฏิบัติ

การเป็นชุดของคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม

ประยุกต์ และผู้ใช้ แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะดึงระบบปฏิบัติการมาทำงานนั้น จะต้องแน่ใจก่อนว่าอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม

ต่างๆ นั้นทำงานถูกต้องซีพียูและหน่วยความจำทำงานถูกต้อง การทำงานดังกล่าวเรียกว่า การตรวจสอบตนเอง

ก่อนเปิดเครื่อง(POST:Power-On-Self-Test)

ถ้ามีบางอย่างผิดปกติ หน้าจอจะขึ้นข้อความเตือน หรือส่งสัญญาณเสียง “ปี้บ” ซึ่งมีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของ

ความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อความเตือนความผิดพลาดหรือสัญญาณเสียงเตือนนั้นอาจไม่ได้เกิดจากข้อผิดพลาดนั้นๆ 
โดยตรง แต่ก็พอจะระบุได้ว่าอุปกรณ์ใดมีปัญหาจุดประสงค์โดยทั่วไปก็คือตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์มีความผิด

พลาดเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ถ้าไม่มีข้อความเตือนหรือเสียงเตือน ไม่ได้หมายความว่าอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานถูกต้องสมบูรณ์

ทั้งหมด เนื่องจากการตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่องนั้นสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดทั่วๆ ไปได้เท่านั้น ซึ่งอาจบอก

ได้เพียงว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นพื้นฐาน เช่น แป้นพิมพ์ การ์ดแสดงผล ได้ต่ออยู่กับเครื่องหรือไม่เท่านั้น

 การทำงาน เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปตามเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ไปยัง ซีพียู เพื่อลบข้อมูลเก่า

ที่ยังคงค้างอยู่ในหน่วยความจำของซีพียู หรือเรียกว่า รีจิสเตอร์ (Register) สัญญาณทางไฟฟ้าจะไปตั้งค่ารีจิสเตอร์ของ

ซีพียูที่มีชื่อว่า ตัวนับโปรแกรม หรือ Program counter ค่าที่ตั้งนั้นเป็นค่าที่บอกให้ ซีพียู รู้ตำแหน่งของคำสั่งถัดไปที่จะ

ต้องทำ ซึ่งตอนเปิดเครื่อง ตำแหน่งที่ต้องส่งไปก็คือตำแหน่งเริ่มต้นของคำสั่งบูทนั่นเอง ชุดคำสั่งโปรแกรมบูทจะเก็บอยู่

ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ไบออส (BIOS ย่อมาจาก Basic Input/Output System) หรือ รอมไบออส (ROM BIOS ย่อ

มาจาก Read Only Memory Basic Input/Output System) จากนั้น ซีพียูจะส่งสัญญาณไปตามบัส (Bus) ซึ่งเป็นวงจรที่

เชื่อมอุปกรณ์ทุกอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกอย่างทำงาน

ขั้นต่อไปคือการตรวจสอบหน่วยความจำที่อยู่ในการ์ดแสดงผลและสัญญาณวีดีโอที่ควบคุมการแสดงผลบนหน้าจอ ต่อ

จากนั้นจะสร้างรหัสไบออสให้การ์ดแสดงผลเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถึงขั้นตอนนี้จะเห็นมีบางสิ่งบางอย่างปรากฏบนหน้า

จอคอมพิวเตอร์

การตรวจสอบต่อไปคือการตรวจสอบ แรมชิป (RAM Chip) โดยซีพียูจะเขียนข้อมูลลงในชิป แล้วอ่านออกมาเทียบกับ

ข้อมูลที่ส่งไปเขียนตอนแรก และเริ่มนับจำนวนความจุของหน่วยความจำที่ถูกตรวจสอบแล้ว ซึ่งในระหว่างนี้ก็จะมีการ

แสดงผลขึ้นบนหน้าจอด้วย

ต่อไปซีพียูจะตรวจสอบคีย์บอร์ดว่าได้ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์หรือไม่ และตรวจสอบว่ามีการกดแป้นคีย์บอร์ดหรือไม่

อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะมีรหัสไบออสอยู่ ซึ่งเป็นตัวคอยประสานงานกับอุปกรณ์ทำงานตัวอื่น และเป็นตัวระบุ

การเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถึงขั้นนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็พร้อมที่จะทำงานต่อไป คือ การบูทเพื่อดึงระบบปฏิบัติการขึ้น

มาทำงาน คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานใดๆได้เลยถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ หรือ ระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นโปรแกรม

ที่คอยประสานการทำงานของโปรแกรมอื่น ให้สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้ แต่ก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะทำงาน

ได้นั้น ระบบปฏิบัติการจะต้องถูกดึงมาไว้ที่หน่วยความจำหลักก่อน เรียกว่า บูทสแทรบ (Bootstrap) หรือ 

บูท (Boot) ซึ่งเป็นคำสั่งสั้นๆ ที่จะต้องมีอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

ขั้นตอนการบูทมีการทำงานเพียง อย่างเท่านั้น คือ การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง และการค้นหาไดร์ฟที่เก็บ

ระบบปฏิบัติการ เมื่อการทำงานเสร็จสมบูรณ์ เครื่องก็จะรู้ว่าระบบปฏิบัติการถูกเก็บไว้ที่ไหน ก็จะทำการดึงระบบปฏิบัติ

การโดยการอ่านไฟล์ระบบปฏิบัติการและคัดลอกไปไว้ในหน่วยความจำหลักของเครื่องหรือ แรม (Random

 Access Memory : RAM) สาเหตุที่ไม่ใส่ระบบปฏิบัติการลงในรอมไบออส(ROM BIOS) ก็คือถ้าเอาระบบ

ปฏิบัติการใส่ไว้ในรอมจะไม่สามารถเปลี่ยนระบบปฏิบัติการได้ เพราะ ROMนั้นยากต่อการแก้ไข และเวลาจะ

เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขระบบปฏิบัติการก็จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไป ซึ่งเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการติดตั้ง

ระบบปฏิบัติการไว้ที่อื่น แล้วค่อยคัดลอกมาทำงาน การทำแบบนี้ทำให้สามารถเปลี่ยนระบบปฏิบัติการหรืออัพเกรด

ระบบปฏิบัติการได้ง่ายและสะดวกสบายกว่ามาก ระบบปฏิบัติการในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย ได้แก่ ไมโครซอฟต์

วินโดว์ (Microsoft Windows) ลินุกซ์ (Linux) หรือ Mac OSเป็นต้น

11.ครูและผู้เรียนอธิบาย พร้อมแสดงตัวอย่างอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยอุปกรณ์ต่อพ่วงคืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อพ่วงกับ

คอมพิวเตอร์เพื่อทำให้เกิดประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นนำอุปกรณ์มาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูล เพื่อ

สแกนรูปภาพ เพื่อทำให้เกิดเสียงเพลงเพื่อควบคุมไฟวิ่งเพื่อควบคุมเครื่องจักรกลในโรงงานต่างๆ เป็นต้นหลักการ

ทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าจะให้อุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดนั้นทำงานแบบใดแต่

อุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์จะต้องต่อสายเคเบิลหรือสาย

นำสัญญาณเข้ากับพอร์ตด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเป็นพอร์ตขนานพอร์ตอนุกรมหรือ

พอร์ต USB ก็แล้วแต่ที่จะกำหนดหรืออาจใช้วิธีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย เช่น Wireless LAN หรือบลู

ทูธ(Bluetooth)เป็นต้น และโดยทั่วไปจะต้องมีโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์

ต่อพ่วง เช่น ต่อพ่วงเครื่องพิมพ์เข้ากับคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้งไดรเวอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับ

เครื่องพิมพ์ตัวนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์ดังนี้

12.ผู้เรียนแสดงรูปภาพของอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์ ได้แก่ เครื่องพิมพ์ (Printer)เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับ

คอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษพิมพ์ โดยรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ผ่านสายเคเบิลหรือระบบเครือ

ข่าย เช่น LAN หรือWireless LAN ไปยังเครื่องพิมพ์

13.ครูและผู้เรียนช่วยกันบอกประเภทของเครื่องพิมพ์ดังนี้
1 ) เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก(Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัว
เข็มกระแทกลงไปบนผ้าหมึกเพื่อให้หมึกที่จะพิมพ์ตัวอักษรไป
ปรากฏบนกระดาษพิมพ์เวลาพิมพ์จะมีเสียงดังมากตัว
เครื่องพิมพ์จะมีราคาแพงส่วนผ้าหมึกจะมีราคาถูกปัจจุบันใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการสำเนาหลายชุดเช่น 
ใบสั่งซื้อบิลเงินสดใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ เป็นหลัก



2 ) เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก(Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการพ่นหมึกออกมาบนกระ
ดาษพิมพ์โดยมีหัวพิมพ์เคลื่อนที่บนแกนโลหะการทำงานของหัวพิมพ์ใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำหมึกเป็นจุด
ขนาดเล็กๆจากตลับน้ำหมึกให้เป็นตัวอักษรหรือรูปภาพแทนลงบนกระดาษความละเอียดของการพิมพ์
วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้วขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นขนาด A4หรือขนาดที่เล็กกว่าความเร็วในการพิมพ์นับเป็น
จำนวนหน้าต่อนาทีการพิมพ์สีจะใช้หลักการพ่นหมึก สี คือ น้ำเงินแดงและเหลืองผสมกัน



3 ) เครื่องพิมพ์เลเซอร์(Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่มีราคา
แพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกมีคุณภาพในการพิมพ์สูงเหมาะกับงานพิมพ์ที่
ต้องการความเร็วและตัวอักษรคมชัดมีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร
โดยจะทำการแปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสแล้วใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงเป็นรูปภาพต้นแบบลงบนแท่นพิมพ์ที่เป็น
ล้อยาง(Drum) แล้วทำการใช้ความร้อนดูดผงหมึกจากตลับหมึก (Toner) เข้ามาติดกับล้อยางตามแบบพิมพ์จากนั้น
กระดาษจะถูกรีดด้วยล้อยางผ่านแม่พิมพ์ที่มีผงหมึกติดอยู่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษความละเอียดของ
การพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว (Dot Per Inch : DPI)ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษขนาด A4 หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที


14.ผู้เรียนค้นคว้าองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด โดยการแสดงเป็นรูปวาด และให้เขียนรูปวาดถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นอย่างน้อยที่สุดที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถทำงานได้ และให้วาดรูปอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ให้มากที่สุดและทันสมัยที่สุด(อาจใช้รูปภาพประกอบได้)
15.แบ่งเป็นกลุ่มเพื่อทำการสำรวจ บุคลากรที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของตนเอง ว่ามีโครงสร้างอย่างไร และมีการบริหารอย่างไร จากนั้นให้รวบรวมทำเป็นรายงานมานำเสนอ
16.ผู้เรียนสำรวจรุ่นและผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของตนเอง ว่าใช้หน่วยประมวลผลกลางชนิดใดบ้างอย่างละเอียด โดยระบุรุ่น และยี่ห้อ รวมถึงการเลือกใช้CPU ชนิดดังกล่าว (แสดงรูปภาพประกอบ)
17.ผู้เรียนสำรวจรุ่นและผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของตนเอง ว่าใช้หน่วยประมวลผลกลางชนิดใดบ้างอย่างละเอียด โดยระบุรุ่น และยี่ห้อ รวมถึงการเลือกใช้CPU ชนิดดังกล่าว (แสดงรูปภาพประกอบ)

ขั้นสรุปและการประยุกต์
18.ครูสุ่มตัวอย่างให้ผู้เรียนให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบและหลักการทำงานของ
ระบบคอมพิวเตอร์
19.ครูและผู้เรียนร่วมกันสรุป โดยให้ทำกิจกรรมใบงาน แบบประเมิณผลการเรียนรู้และกรณีศึกษาตามที่
ครูมอบหมาย
20.สรุปโดยการถาม-ตอบ เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและประเมินผู้เรียนตามแบบฟอร์มต่อไปนี้
ชื่อผู้เรียน
ประสบการณ์พื้นฐานการเรียนรู้
วิธีการเรียนรู้
ความรู้
ทักษะ
ผลงาน
1.




2.




3.




4.




5.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น